ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง หรือ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น มีอายุกว่า 1,400 ปี สืบทอดมาจากพระโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในบ้านเราว่า กายบริหารแกว่งแขน
คำว่า “เปลี่ยนเส้นเอ็น” ไม่ได้หมายถึง ผ่าตัดเปลี่ยนเอาเส้นเอ็นออกมาตามความเข้าใจของการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขสภาพของเส้นเอ็น ด้วยการออกกำลังกายโดยวิธีแกว่งแขน ซึ่งจะส่งผลให้เลือดลมภายในโคจรไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด
ต่อ มา ”คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น” นี้ได้ถูกเรียกชื่อเสียใหม่ว่า “กายบริหารแกว่างแขนบำบัดโรค” เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
กาย บริหารแกว่งแขนนี้ ทำง่ายหัดง่าย และเป็นเร็ว นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้รวดเร็วอีกด้วย โรคเรื้อรังมากมายหลายชนิด ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีทำกายบริหารแบบนี้
การแกว่งแขนต้อง อาศัยความอดทน การแกว่งแขนแต่ละครั้งจะมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ว่าอ่อนแอ หรือแข็งแรงเพียงใด อย่าใจร้อน อย่าฝืน แต่ก็ไม่ใช่ทำตามสบาย เพราะหากปล่อยตามใจชอบแล้ว ก็จะขาดความเชื่อมั่นต่อการออกกำลังกาย และจะไม่เกิดผลเมื่อ เริ่มปฏิบัติอย่าออกแรงหักโหมมากเกินไป ให้แกว่งแขนไปตามปกติ ทำอย่างนิ่มนวล ไม่ใช่แกว่งอย่างเอาเป็นเอาตาย ควรทำจิตใจให้เป็นสมาธิ อย่าฟุ้งซ่าน ถ้าหากไม่มีสมาธิแล้วเลือดก็จะหมุนเวียนสับสนไม่เป็นระเบียบ ทำให้การปฏิบัติไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร
การบริหารแกว่งแขนนี้เมื่อ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ สามารถบำบัดโรคร้ายแรง และเรื้อรังต่าง ๆ ให้หายได้
ส่วนผู้ที่มีร่างกายปกติ หากปฏิบัติเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพพลานามัยให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้อารมณ์แจ่มใสจิตใจเบิกบานและเป็นสุข หลังจากการทำกายบริหารแกว่ง แขนแล้ว ควรเดินพักตามสบายเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ
กระบวนท่ากายบริหารแกว่งแขน
1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่
2. ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงตามธรรมชาติ อย่างเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหลัง
3. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปากควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ
4. จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรกเหยียบลงพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้
5. สายตาทั้ง 2 ข้าง ควรมองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่งแล้วมองอยู่ที่เป้าหมายนั้นจุดเดียว สลัดความกังวลหรือความนึกคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น
6. การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบา ๆ ซึ่งตรงกับคำว่า “ว่างและเบา” แกว่งแขนไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง ความสูงของแขนที่แกว่งไปพยายามให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนให้สูงเกินไป คือ ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แล้วตั้งสมาธินับ หนึ่ง… สอง… สาม… ไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำว่า “แน่นหรือหนัก” แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก เวลาแกว่งแขนกลับให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60 องศา
ควรใช้เวลาในการบริหารประมาณครั้งละ 30 นาที
เคล็ดลับ 16 ประการของการแกว่งแขน
- ส่วนบนควรจะ ปล่อยให้ว่าง หมายถึงส่วนบนของร่างกาย คือ ศรีษะควรปล่อยให้ว่างเปล่า ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจ มีสมาธิแน่วแน่
- ส่วนล่างควรจะให้แน่น หมายถึงส่วนล่างของร่างกายใต้บั้นเอวลงไปต้องให้ลมปราณเดินได้สะดวก
- ศรีษะแขวนลอย หมายถึงศรีษะต้องปล่อยสบายประหนึ่งแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อคอต้องผ่อนคลาย ไม่เกร็งไม่ควรโน้มไปข้างหน้าหงายไปข้างหลัง หรือเอียงไปข้างๆ
- ปากควรปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ หมายถึงไม่ควรหุบปากหรืออ้าปากไปตามจังหวะที่ออกแรงแกว่งแขน ไม่ควรให้ปากอ้าตามใจชอบ แต่ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อและหุบปากเพียงเล็กน้อย
- ทรวง อกเหมือนปุยฝ้าย คือ กล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกให้ผ่อนคลายแบบธรรมชาติ
- หลัง ควรยืนตรงให้ตระหง่าน หมายความว่าไม่แอ่นหน้า แอ่นหลัง หรือก้มตัวจนหลังโก่ง ต้องปล่อยให้แผ่นหลังยืดตรงตามธรรมชาติ
- บั้น เอวควรตั้งตรงเป็นแกนเพลา หมายถึงบั้นเอวต้องอยู่ในลักษณะตรง
- ลำ แขนควรแกว่งไกว หมายถึงแกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา
- ข้อศอกควรปล่อยให้ ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึงขณะแกว่งแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าและข้างหลังนั้น อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรงอข้อศอกเล็กน้อยตามธรรมชาติ
- ข้อมือควรปล่อย ให้หนักหน่วง หมายถึงขณะที่แกว่งแขนทั้งสองข้างนั้น แขนทั้งสองข้างนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ เมื่อไม่เกร็งแล้วจะรู้สึกมือหนัก
- สองมือควรพายไปตามจังหวะแกว่งแขน หมายถึงขณะที่แกว่งแขนนั้น ทำท่าคล้ายพายเรือ
- ช่วงท้องควรปล่อยตาม สบาย หมายถึงเมื่อกล้ามเนื้อท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลาย แล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น
- ช่วงขาควรผ่อนคลาย หมายถึงขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองข้างแยกห่างกันนั้น ควรผ่อนกล้ามเนื้อช่วงขา
- บั้น ท้าย(ก้น) ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย ระหว่างทำกายบริหารนั้นต้องหดก้น คล้ายยกสูงให้หดหายไปในลำไส้
- ส้นเท้าควรยืนถ่วงน้ำหนักเสมอก้อนหิน หมายถึง การยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคง ยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน
- ปลาย นิ้วเท้าควรจิกแน่นกับพื้น หมายถึงขณะที่ยืนนั้น ปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้าง ควรจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง